Flowchart

 ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm, Workflow, Process เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก โดยสัญลักษณ์ Flowchart แสดงถึงการทำงานลักษณะต่างๆ เชื่อมต่อกัน 
Flowchart ถูกใช้ในการออกแบบ เพื่อช่วยให้เห็นภาพสิ่งที่เกิดขึ้นและช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำงานและบางทีอาจช่วยหาข้อบกพร่องภายในงานอีกด้วย เช่น ปัญหาคอขวด (ปัญหาที่มีงานไปกองที่ส่วนใดส่วนหนึ่งและส่วนอื่นเกิดการรอ) เป็นต้น

ประวัติของ Flowchart

เริ่มต้นครั้งแรก Flowchart ถูกนำเสนอโดย Frank Gilbreth เป็นสมาชิกของ American Society of Machanical Engineers (ASME) ในปี 1921 และถูกพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จนออกเป็นเวอร์ชั่นที่เป็นมาตรฐานในปี 1947 ที่เราใช้กันมาถึงปัจจุบัน 
ในปี 1949 Herman Goldstine และ John von Neumann ได้นำมาพัฒนาต่อเนื่องให้นำไปประยุกต์ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program) และการเขียนโปรแกรม (Computer Programming) ต่อมาได้ถูกรับรองโดยวิศวกรของ IBM และใช้ต่อจนถึงปัจจุบันเช่นกัน รูปด้านล่างแสดงสัญลักษณ์ของ Flowchart ในขณะนั้น


รูปภาพจาก IBM

ทำให้ประเภทของผังงาน (Flowchart) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานในระบบ
  2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานแสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม

1.ผังงานระบบ (System Flowchart)


คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน
ตัวอย่างผังงานระบบ (System Flowchart)


2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)


คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ปัญหาคอขวด (Bottle Neck) ที่เกิดจากการเขียนโปรแกรม
ตัวอย่างผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
บทความต่อไป เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์พื้นฐานในการเขียนผังงาน (Flowchart)
สัญลักษณ์ Flowchart คือ รูปภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน (Flowchart) ประกอบไปด้วย การเริ่มต้น (Start), การจบ (End), การกระทำ (Process), การนำเข้าข้อมูล (Input), การแสดงผลข้อมูล (Output), การตัดสินใจ (Decision), คำอธิบาย (Annotation), จุดเชื่อมต่อ (Connector), ทิศทางการทำงาน (Direction Flow) 
สัญลักษณ์เหล่านี้เมื่อถูกนำมาเชื่อมต่อกัน จะกลายเป็น "ผังงาน (Flowchart)" ที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อ
  • เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับความคิด
  • เห็นลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
มาดูกันว่าสัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้างครับ

สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน)

รูปภาพสัญลักษณ์ความหมายของสัญลักษณ์
Start / End
การเริ่มต้นหรือจบ Flowchart (Start หรือ End)
Process
การกระทำ (Process) ถูกใช้เพื่อแสดงที่การกระทำใน Flowchart
ตัวอย่างเช่น "กำหนด 1 ให้ X", "บันทึกการเปลี่ยนแปลง", "แทนที่ X ด้วยค่า 10"
Input / Output

ส่วนการนำเข้าข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล (Input / Output) 
ตัวอย่างเช่น "นำเข้าค่า X จากผู้ใช้", "แสดงผลข้อมูล X"
Decision
การตัดสินใจ (Decision)
นำมาใช้เพื่อพิจารณา True หรือ False เส้นการทำงานที่ออกจาก Decision จะมีสองเส้นเสมอ
เส้นแรกเมื่อเป็น True และอีกเส้นเมื่อเป็น False
Annotation
คำอธิบายประกอบ (Annotation) 
สัญลักษณ์นี้ถูกนำมาใช้เพื่อเขียนคอมเม้นต์ให้กับ Flowchart
Connector

จุดเชื่อมต่อ (Connector) 
ใช้รวมเส้นการทำงานของ Flowchart ให้ออกไปเหลือเพียงเส้นเดียว
Direction Flow
ทิศทางการทำงาน (Direction Flow)
ใช้เชื่อมต่อสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแสดงการไหลการงาน

วิธีใช้เขียนผังงาน

หลักการนำสัญลักษณ์ Flowchart ต่างๆ มาเขียนผังงาน
  1. ผังงาน (Flowchart) ต้องมีจุดเริ่มต้น (Start) และจุดสิ้นสุด (End)
  2. สัญลักษณ์แต่ละรูปจะถูกเชื่อมต่อด้วยทิศทางการทำงาน (Direction Flow) เพื่อบอกว่าเมื่อทำงานนี้เสร็จต้องไปทำงานไหนต่อไป
  3. การทำงานจะต้องเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้น (Start) และจบที่จุดสิ้นสุด (End) เท่านั้น

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ Flowchart ในการเขียนผังงานระบบ

 

ตัวอย่าง ผังงานการลาป่วย 


อธิบายผังงานลาป่วย
  1. เริ่มต้น - Start
  2. ไปทำงาน - Process
  3. ฉันป่วยหรือไม่ ? - Decision ถ้าไม่ป่วยก็จบเลย - False
  4. ใช่ ฉันป่วย - True
  5. กรอกใบลาป่วย - Process
  6. ส่งอีเมล์ให้หัวหน้า - Process
  7. นอนพักผ่อน - Process
  8. จบ - End

ตัวอย่างการเขียนแผนผังงานเดินทางไปทำงาน





เป็นไงบ้างครับ พื้นฐานการใช้สัญลักษณ์  Flowchart แบบง่ายๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนผังงานอื่นๆ ได้ครับ ในบทความอื่นๆ เดี๋ยวเราจะมาลงลึกไปในรายละเอียดของผังงานแบบต่างๆ กัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

12เครื่องวัดความเร็วอะนาล็อกใช้ Arduino และเซ็นเซอร์ IR

10อัลตราโซนิกเซนเซอร์ตรวจจับระยะไกลใน ARDUINO พร้อม TINKERCAD